เว็บรวมคาสิโนออนไลน์ครบทุกค่าย แจกเครดิตฟรีให้ทดลองเล่น

Full Version: พิธีปิดซีเกมส์ 2021 เวียดนาม เชิญ 11 ชาติ ร่วมเดินพาเหรด สะท้อนธีมอาเซียนแข็งแกร่ง
You're currently viewing a stripped down version of our content. View the full version with proper formatting.
[Image: dFQROr7oWzulq5Fa4MpElW6FCk9oItnaH9B2RzTf...UmxOjj.jpg]

เวียดนาม จัดพิธีปิดกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ส่งท้าย วันนี้ (23 พ.ค.) เน้นอบอุ่น ประทับใจ ก่อนจากลา พร้อมให้นักกีฬา เจ้าหน้าที่ 11 ชาติอาเซียน เดินพาเหรดร่วมกัน สะท้อนธีม อาเซียนแข็งแกร่ง ขณะที่กัมพูชา รับไม้ต่อ จัดซีเกมส์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เดือน พ.ค.ปีหน้า 2023 ชิงชัยรวม 40 กีฬา T Sports 7 ช่อง 5 HD ช่อง NBT 2 HD และ TrueID รับหน้าที่ถ่ายทอดสด เร่ิมเวลา 20.00 น.

มหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่ประเทศเวียดนาม เดินทางมาถึงวันสุดท้าย วันนี้ (23 พ.ค.) เจ้าภาพจัดให้มีพิธีปิดการแข่งขันที่ศูนย์กรีฑาในร่ม ก่วน เหงือ พาเลซ ออฟ แอธเลติกส์ กรุงฮานอย ความจุ 5,500 ที่นั่ง ในกรุงฮานอย เร่ิมเวลา 20.00 น. T Sports 7 ช่อง 5 HD ช่อง NBT 2 HD และ TrueID ถ่ายทอดสด

ฮวง คอง ควง ผู้กำกับพิธีเปิดการแข่งขัน กล่าวว่า การจัดพิธีปิดในพื้นที่อินดอร์เพื่อสื่อถึงความอบอุ่น ใกล้ชิด เป็นกลุ่มก้อน เหมือนการเลี้ยงส่ง และอำลาคณะนักกีฬาจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 10 ชาติด้วยความจริงใจ อีกทั้งยังสื่อถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและสมัครสมานสามัคคีของภูมิภาคอาเซียน

ช่วงต้นของพิธีปิด ทัพนักกีฬาชาติต่าง ๆ จะนั่งรวมกันบนอัฒจันทร์เพื่อชมประมวลภาพการแข่งขันตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย ทั้งช่วงเวลาแห่งความยินดีและผิดหวัง หยาดเหงื่อ น้ำตา รอยยิ้ม และมิตรภาพที่สวยงาม ธีมหลักในช่วงนี้ยังเป็นการเชิดชูเกียรตินักกีฬาที่เข้าร่วมแข่งขันและประสบความสำเร็จในฐานะ "นักรบ" ตัวแทนของประเทศบนเวทีกีฬาระดับนานาชาติ

ในส่วนของชุดการแสดง มีธีมหลักเป็นการถ่ายทอดภาพของกรุงฮานอยจากอดีตถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ยังใช้ชื่อ "ทังลอง" ดินแดนเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติอันงดงามทั้งภูเขาและแม่น้ำ สู่เมืองหลวงแห่งความสงบ เกียรติยศ และความเจริญ เป็นฮานอยยุคใหม่เพื่อก้าวสู่อนาคต

ยังมีการแสดงศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านทั้งของเวียดนามและภูมิภาคอาเซียน และการขับร้องเพลงของศิลปินดังของเวียดนาม โดยขณะที่นักกีฬาเข้าไปในสนาม นักแสดง 100 คน จะสวมชุดพื้นเมืองของชาวกิงบั๊ก นำผลหมากและปีกนกฟีนิกซ์ไปมอบให้กับนักกีฬาชาติต่างๆ เพื่อแทนคำลา

อีกไฮไลต์สำคัญคือพิธีส่งมอบธงประจำการแข่งขันซีเกมส์จากเวียดนาม เจ้าภาพครั้งที่ 31 สู่กัมพูชา เจ้าภาพครั้งที่ 32 ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพครั้งแรกในปีหน้า โดยกัมพูชา จัดชุดการแสดงที่ใช้เวลา 11 นาที เพื่อทำพิธีรับธงอย่างสมเกียรติ

ชุดการแสดงของกัมพูชา จะสื่อถึงประวัติศาสตร์เก่าแก่ของนครวัดและศิลปะพื้นเมืองและศิลปะร่วมสมัย อาทิ ราชบัลเลต์แห่งกัมพูชา เป็นการร่ายรำที่สร้างขึ้นจากการร่ายรำแบบดั้งเดิมของเขมรในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ, การเต้นรำแบบร่วมสมัยของตัวมาสคอตนกพิราบสีขาว, การเป่าแตรพื้นบ้าน และอีกมากมาย โดยมีธีมหลักที่การผสมผสานความผูกพันของมิตรภาพระหว่างนักกีฬาชาติต่างๆ และการตั้งตารอการแข่งขันที่กำลังจะมาถึง

นอกจาก การแสดงเตรียมไว้อย่างประทับใจผู้มาเยือนแล้ว เจ้าภาพ ยังจะให้นักกีฬา เจ้าหน้าที่ 11 ชาติอาเซียน เดินพาเหรดร่วมกัน ไม่แบ่งประเทศ เพื่อสะท้อนธีม อาเซียนต้องแข็งแกร่งขึ้น โดยในส่วนของไทย จะมี รศ.ดร.สุพิตร สมาหิโต รองหัวหน้านักกีฬา ร่วมกับนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ ร่วมเดินในพิธีปิดครั้งนี้

ด้าน กัมพูชา ซึ่งเหลือเพียงชาติเดียวที่ร่วมก่อตั้งซีเกมส์กันมา แต่ยังไม่เคยเป็นเจ้าภาพมาก่อน ประกาศความพร้อมที่จะจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ในครั้งที่ 32 ระหว่างวันที่ 5-17 พ.ค.ปีหน้า 2023 ที่กรุงพนมเปญ แล้ว โดยจะมีการชิงชัยรวมทั้งหมด 40 ชนิดกีฬา สำหรับ 40 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย หมวดที่ 1 กีฬาบังคับ กรีฑา (ลู่, ลาน และมาราธอน), กีฬาทางน้ำ (ว่ายน้ำ ดำน้ำ โปโลน้ำ)

หมวดที่ 2 กีฬาสากล แบดมินตัน, บาสเกตบอล (5×5และ 3×3), มวยสากลสมัครเล่น, บิลเลียด, จักรยาน (บนถนนและ เอ็มทีบี), เรือแคนูและเรือพาย (รวมทั้งเรือประเพณี), หมากรุก, ลีลาศ, ฟันดาบ, ฟุตบอล, กอล์ฟ, ยิมนาสติก, ฮอกกี้, ยูโด, คาราเต้, มวย, เปตอง, เรือใบ, เซปักตะกร้อ (รวมทั้งชินลง), ซอฟต์เทนนิส, เทนนิส, เทเบิลเทนนิส, เทควันโด, ไตรกีฬา (ทางน้ำและทวิกีฬา) วอลเลย์บอล, มวยปล้ำ, ยกน้ำหนัก, วูซู และ หมวดที่ 3 กีฬาที่เจ้าภาพเลือก หรือ กีฬาพื้นบ้าน อาร์นิส, เพาะกาย, อีสปอร์ต, ฟลอร์บอล, ยูยิตสู, เจ็ตสกี, คิกบ็อกซิ่ง, โบกาตอร์ (มวยกัมพูชา), โววีนัม, มาร์เชียลอาร์ตส์เกาหลี

นาน ซอกวิสาล หัวหน้านักกีฬาทีมชาติกัมพูชา กล่าวว่า กัมพูชา มีความพร้อมเต็มที่ ในการจัดกีฬาซีเกมส์ครั้งแรก โดยได้เรียนรู้จากการจัดกีฬาซีเกมส์ของเวียดนาม มาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ฟันฝ่าอุปสรรคมาอย่างต่อเนื่อง จนการจัดการแข่งขันสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี